การเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการที่สำคัญในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา
พัฒนาการที่สำคัญของบริษัทฯ และบริษัทย่อย โดยแบ่งตามลักษณะการประกอบธุรกิจ ดังนี้
ในปี 2563
กลุ่มธุรกิจไบโอดีเซล
• ปรับปรุงกระบวนการผลิต B100 ตามคุณลักษณะใหม่ที่ระบุในประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน “เรื่องกำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซล ประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. 2562” เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตจากเดิม 650,000 ลิตรต่อวัน เป็น 800,000 ลิตรต่อวัน อีกทั้งการลงทุนติดตั้งกระบวนการผลิต B100 จากผลิตภัณฑ์พลอยได้ (กรดไขมันปาล์ม) เพื่อลดต้นทุนในการผลิตอันเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ
• บริษัทฯ ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้ธุรกิจไบโอดีเซล เพื่อเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบที่เป็นสารตั้งต้น ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตร (Patent) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทย่อย (บจก. อีเอ ไบโอ อินโนเวชั่น) เป็นผู้ดำเนินการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ประกอบด้วย
1.) ผลิตภัณฑ์กรีนดีเซล (Green Diesel หรือ GD) หรือ Bio Hydrogenated Diesel (BHD) เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันดีเซล ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสะอาดของเครื่องยนต์ และ
2.) สารเปลี่ยนสถานะ หรือ PCM (Phase Change Material) เพื่อนำมาใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ เช่น เป็นส่วนประกอบของวัสดุก่อสร้างอาคาร หรือเส้นใยผ้า และอื่นๆ เพื่อช่วยในการดูดซับ กักเก็บ ควบคุม และปล่อยความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิ โดยสาร PCM นี้เป็นที่นิยมและมีความต้องการสูงในประเทศที่มีสภาพอากาศแปรปรวน
โดยโรงงานผลิตกรีนดีเซล และสารเปลี่ยนสถานะ (PCM) ดังกล่าว ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการติดตั้งและทดสอบเครื่องจักรแล้วเสร็จ และได้เริ่มกระบวนการผลิตระยะที่ 1 สำหรับผลิตภัณฑ์ PCM และจะทยอยเพิ่มกำลังการผลิตให้เต็มกำลังการผลิต ที่ 65 ตันต่อวัน ส่วนระยะถัดไปจะเริ่มการผลิตระยะที่ 2 ซึ่งจะมีกำลังการผลิตอีกจำนวน 65 ตันต่อวัน โดยระหว่างนี้ทางบริษัทฯ ยังคงทำการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายโอกาสทางการตลาดในการนำสาร PCM ไปใช้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
• โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โครงการ 1,2,3) ยังคงได้รับความเห็นชอบในการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน จาก อบก. โดยปริมาณที่ได้รับการรับรองสำหรับเดือนมกราคม 2562 ถึงเดือนธันวาคม 2562 รวมจำนวนทั้งสิ้น 344,922 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า(tCO2e) ดังนี้
• โรงไฟฟ้าพลังงานลม (โครงการหาดกังหัน 1-3) ยังคงได้รับความเห็นชอบในการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยปริมาณที่ได้รับการรับรองสำหรับเดือน ม.ค. 62 ถึง เดือน ธ.ค. 62 จำนวน 164,873 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)
• โรงไฟฟ้าพลังงานลม (โครงการหนุมาน 1,5,8,9,10) ได้รับความเห็นชอบในการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เป็นปีแรก จาก อบก. โดยปริมาณที่ได้รับการรับรองสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนธันวาคม 2562 รวมจำนวนทั้งสิ้น 263,871 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ดังนี้
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม ยังคงขอการรับรองปริมารณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการ
โดยได้ยื่นขอรับการรับรองจาก อบก. สำหรับเดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2563 รวมจำนวนทั้งสิ้น 756,998 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ดังนี้
• การเข้าลงทุนของบริษัทในเครือ
- ERH เข้าลงทุนใน บจก. ซับใหญ่ วินด์ฟาร์ม(1) (“SWF”)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยาย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ทางด้านการผลิต และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม
- ERH เข้าลงทุนในบจก. ทีเอฟ เทค โฮลดิ้ง (“TFTH”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันในการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ (Floating Solar)
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ
• จัดตั้งบริษัทย่อย (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) ดังต่อไปนี้
- จัดตั้ง บจก. อีเอ ปาล์ม เน็ตเวิร์ค (“EPN”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจผลิต และจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ
- จัดตั้ง บจก. อีเอ เวสท์ แมเนจเม้นท์ (“EWM”)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ และธุรกิจการผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าจากขยะ-
ชีวมวล พลังงานทดแทนอื่น
- จัดตั้ง บจก. แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี (“AAB”)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจ ผลิต ประกอบยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท
• การเข้าลงทุนของบริษัทในเครือท
- EPN เข้าลงทุนใน บจก. ลาภภักดีปาล์ม (“LPD”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยาย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ทางด้านผลิต และจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ ด้วยมูลค่าการลงทุนภายหลังจากที่มีการเพิ่มทุนแล้วรวม
ทั้งสิ้น 150 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ LPD
- EPN เข้าลงทุนใน บจก. คอมไบน์ เอ็นเนอร์ยี่ เทค (“CET”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยาย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ในธุรกิจ Shore Tank รวมถึงแผนการก่อสร้างโรงผลิต Green Diesel & PCM ด้วยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 285.51 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ CET
- EPN เข้าลงทุนใน บจก. กาญจนดิษฐ์น้ำมันปาล์ม (“KJD”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยาย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ทางด้านผลิต และจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ ด้วยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 37.53 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ KJD
- EMH เข้าลงทุนซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใน บมจ. เน็กซ์ พอยท์ (“NEX”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต ประกอบชิ้นส่วนและจัดจำหน่าย ตลอดจนการขายและให้บริการหลังการขายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รถยนต์โดยสาร รถยนต์เชิงพาณิชย์ และรถยนต์ส่วนบุคคล โดยบริษัทในเครือจะเป็นผู้ผลิตและพัฒนาแบตเตอรี่ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องสำหรับใช้ในรถบัสไฟฟ้า และยานยนต์ไฟฟ้าต่างๆ ด้วยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,474 ล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.01 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ NEX
- EST เข้าลงทุนใน บจก. เจ้าพระยา ริเวอร์ ไลน์ (“CRL”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายเครือข่ายการดำเนินธุรกิจทางด้านเรือโดยสาร การท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 55.70 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.99 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ CRL
• เข้าซื้อเงินลงทุนเพิ่มเติมในกิจการร่วมค้า (Shenzhen Atess Power Technology Co., Ltd.) จากผู้ร่วมลงทุนรายอื่นส่งผลให้สัดส่วนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.67 เป็นร้อยละ 38.58
• เปิดตัวสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเรือไฟฟ้าแห่งแรก ที่ขนาดกำลังไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลวัตต์ โดยเป็นการติดตั้งเครื่องชาร์จ DC Fast Charger ขนาด 300 กิโลวัตต์ จำนวนทั้งสิ้น 14 เครื่อง ที่สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้ภายในเวลาไม่เกิน 15-20 นาที ตามคุณสมบัติของยานยนต์ไฟฟ้าและขนาดของแบตเตอรี่ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าของกลุ่มบริษัท และเรือไฟฟ้าของหน่วยงานอื่นๆ โดยสถานี อัดประจุไฟฟ้าสำหรับเรือไฟฟ้าแห่งแรกนี้ ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งถนนปู่เจ้าสมิงพราย สะพานภูมิพล 2 อำเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ อย่างไรก็ตามสำหรับแผนในการก่อสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่อื่นๆ ยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการใช้งานเรือโดยสารไฟฟ้าตลอดลำน้ำเจ้าพระยา
• เปิดให้บริการเครื่องชาร์จประเภท DC Fast Charger ขนาด 150 kW เต็มรูปแบบสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า โดยติดตั้งไว้ในพื้นที่ Outdoor อาทิเช่น สถานีบริการน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และสถานประกอบการอื่นที่เปิดให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถรองรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างเต็มศักยภาพ
• เข้าร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โดยบจก. อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) (“Amita-TH”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
ที่ดำเนินโครงการโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ในประเทศไทย ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยโครงการที่จะนำไปสู่การรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ซึ่ง Amita-TH จะนำผลการศึกษาจากโครงการ ไปประยุกต์ใช้ภายในระยะเวลา 3 ปี นับเป็นการต่อยอดการลงทุนในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของกลุ่มบริษัท อย่างครบวงจร ตั้งแต่การเป็นผู้ผลิตเซลล์แบตเตอรี่ เพื่อนำไปใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมไฟฟ้า ตลอดจนสามารถนำแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่สิ้นอายุการใช้งานแล้วกลับมารีไซเคิลได้ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่เป็นฐานการลงทุนอุตสาหกรรมกักเก็บพลังงานในแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรอย่างเข้มแข็งและสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้
• เข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างบริษัทฯ กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในโครงการความร่วมมือวิจัยพัฒนาวัตถุดิบและชิ้นส่วน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้าความจุสูง หรือแบตเตอรี่ ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงในระยะเวลา 5 ปี (2563 - 2568) รวมถึงวงจรจัดการระบบการทำงานของแบตเตอรี่ เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูง โดยให้ความสำคัญกับการพึ่งพาทรัพยากรและการผลิตภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศอย่างยั่งยืน
• ความคืบหน้าในการดำเนินการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีการติดตั้งแล้วเสร็จจำนวน 410 สถานี โดยแบ่งเป็นประเภท DC Charger จำนวน 266 เครื่อง และ AC Charger จำนวน 592 เครื่อง เพื่อรองรับการใช้งานของยานยนต์ทุกรูปแบบ และรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทยที่ออกแบบและผลิตโดยกลุ่มบริษัท ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถบัสโดยสารไฟฟ้า รวมไปถึงเรือโดยสารไฟฟ้า ให้สามารถชาร์จด้วย Quick Charge ที่มีความเร็วสูงสุด (4C-Rate) ภายในระยะเวลาไม่เกิน 15-20 นาที โดยผู้ใช้บริการสามารถสั่งจองและจ่ายไฟเข้าเครื่องยนต์ ผ่าน Application EA Anywhere ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงดำเนินแผนการลงทุนติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าร่วมกับพันธมิตรรายใหญ่ และเปิดรับพันธมิตรรายอื่นๆ ตามแผนธุรกิจของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
• กลุ่มบริษัท ได้เปิดตัวเรือไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ “MINE SMART FERRY” ซึ่งเป็นนวัตกรรมฝีมือคนไทยโดยเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ได้มีพิธีเปิดโครงการทดลองเดินเรือโดยสารไฟฟ้าในแม่น้ำเจ้าพระยา และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบได้ในปี 2564 นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแห่งชาติปี 2563 ด้านเศรษฐกิจ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และได้รับการจดทะเบียนจากกรมเจ้าท่าให้เป็นเรือโดยสารไฟฟ้า ลำแรกของประเทศเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 เพื่อให้บริการการเดินทางในแม่น้ำเจ้าพระยา จากท่าน้ำสะพานพระนั่งเกล้า จนถึง ท่าน้ำวัดราชสิงขร สาธร รวมระยะทางประมาณกว่า 20 กิโลเมตร โดยถือเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางขนส่งทางน้ำกับระบบขนส่งสาธารณะทางบกได้เป็นอย่างดี ด้วยอัตราค่าโดยสารที่น้อย เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้โดยสาร และเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมส่งเสริมให้ประชาชนมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการเดินทางทางน้ำอย่างสะดวกและปลอดภัย ด้วยยานพาหนะไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไร้มลพิษทางอากาศและ PM 2.5
• สำหรับโรงงานประกอบรถบัสโดยสารไฟฟ้าของ AAB ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ใกล้เคียงกับโรงประกอบรถยนต์ไฟฟ้า และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยมีกำลังการผลิต 3,000 คันต่อปี สามารถรองรับการผลิตรถได้หลายประเภท เช่น รถบัส รถบรรทุก โดยมูลค่าโครงการก่อสร้างประมาณ 1,750 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าก่อสร้างโรงงาน และ ค่าอุปกรณ์และเครื่องจักรโดยจะนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ มาประกอบร่วมกับชิ้นส่วนสำคัญที่ออกแบบและผลิตในประเทศ ด้วยกระบวนการผลิตแบบใช้เครื่องจักรในการควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน (Automated manufacturing process) พร้อมทั้งมีกระบวนการทดสอบมาตรฐานการขับเคลื่อน คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการ เชิงพาณิชย์ได้ในช่วงต้นปี 2564