มิติสังคม

บริษัทฯ เชื่อว่า การบริหารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน การบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยง อุบัติการณ์ และผลกระทบต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย เป็นความรับผิดชอบขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มพนักงาน คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสีย โดยบริษัทฯ มุ่งมั่นส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานมีสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัยและมีความปลอดภัย และยึดถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควบคู่กับการพัฒนาองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงานของบริษัท

แนวทางบริหารจัดการ

บริษัทฯให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของพนักงานบริษัท ผู้รับเหมา คู่ค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยมาตรการป้องกันความเสี่ยง และนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมส่งเสริมให้มีการปรุงปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม เพื่อให้ทุกกลุ่มธุรกิจ สามารถนำแนวทางการดำเนินงานไปปฎิบัติได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยอ้างอิงแนวทางปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานสากล ISO 45001:2018 หลักการด้าน Process Safety Management (PSM) และแนวทางปฏิบัติอื่นที่เกี่ยวข้องตามแต่กลุ่มอุตสาหกรรม ควบคู่กับการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กลยุทธ์เพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงานของบริษัท

  • การบริหารความเสี่ยงในการทำงาน Work risk management

    บริษัทฯ กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมอันตราย โดยมุ่งเน้น การขจัดความเสี่ยงและอันตรายในการทำงาน การบ่งชี้ประเด็นความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในทุกกิจกรรมหลัก โดยครอบคลุมทั้งกิจกรรมของพนักงาน กิจกรรมของผู้รับเหมาและยังได้เตรียมความพร้อมในการรองรับการเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ เช่น การตรวจสอบระบบเตือนภัย เส้นทางหนีไฟ ไฟส่องสว่างฉุกเฉิน ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และอุปกรณ์ระงับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ตลอดจนมีการฝึกซ้อมทีมระงับเหตุฉุกเฉินให้มีความพร้อมปฏิบัติงานอยู่เสมอ

  • การรายงานและการสอบสวนเหตุการณ์ผิดปกติหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน

    บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีขั้นตอนการสอบสวนอุบัติเหตุ กรณีเกิดอุบัติการณ์ทางด้านร่างกายหรือทรัพย์สิน ตลอดจนโรคอันเนื่องมากจากทำงาน โดยมีกระบวนการสอบสวนอุบัติเหตุเพื่อหาสาเหตุ กำหนดมาตรการแก้ไข และป้องกันการเกิดซ้ำ ตลอดจนติดตามผลการดำเนินการแก้ไข รวมถึงการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  • การบริการด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน Work-related health

    บริษัทฯ ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน (Health Risk Assessment) โดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ครอบคลุมทุกกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมและลดความเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานตามปัจจัยเสี่ยงแต่ละพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เช่น การตรวจวัดคุณภาพอากาศ แสงสว่าง เสียง ความร้อน ฝุ่นและสารเคมีในพื้นที่ปฏิบัติงาน เทียบกับค่ามาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการตรวจสุขภาพพนักงานก่อนเริ่มทำงาน เมื่อเปลี่ยนงาน โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง ทั้งการตรวจสมรรถภาพปอด สมรรถภาพการได้ยิน ตรวจสายตาอาชีวอนามัย ตรวจสารเคมีในร่างกาย ตรวจสมรรถภาพ กล้ามเนื้อมือ ขา หลัง โดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และบริษัทฯ ได้จัดให้มีสถานพยาบาลและพยาบาลประจำ เพื่อให้บริการด้านสุขภาพกับพนักงานและผู้ที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ของบริษัทฯ รวมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้กับผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ บริษัทมีการจัดอบรมให้ความความรู้กับพนักงานเรื่องการดูแลสุขภาพ ทั้งด้านการทำงาน สุขภาพ เช่น โรคจากการทำงาน

  • การพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

    บริษัทฯ จัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยให้กับพนักงานและผู้ปฏิบัติงานทุกคนก่อนเริ่มทำงาน หรือเมื่อเปลี่ยนงาน โดยพิจารณาหลักสูตรการฝึกอบรม ตามลักษณะของอันตรายและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ เช่น การอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี การอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า การอบรมความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่อับอากาศ เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จัดการฝึกอบรมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ เช่น การฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ การฝึกซ้อมสารเคมีรั่วไหล มีการจัดทำแผนการฝึกอบรม ติดตามการดำเนินการตามแผน ตลอดจนบันทึกประวัติการฝึกอบรมของพนักงาน

Safety Activity

Safety Talk Activity

เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และตระหนัก ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นในการทำงาน โดยกิจกรรมนี้ จะจัดทั้งในสำนักงานและสายการผลิต เป็นประจำทุกเดือน

Safety Mind Activity

เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ทุกคนในองค์กรมีจิตสานึกและตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน (Safety First) ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงาน ทั้งนี้พนักงานสามารถร่วมเสนอความคิดเห็น และแนวทางป้องกันแก้ไขอุบัติการณ์เพื่อไม่ให้เกิดซ้ำได้ผ่านกิจกรรมนี้

ผลการดำเนินงาน/ตัวชี้วัดความสำเร็จ

บริษัทฯ ได้มีการรายงานตัวชี้วัดการปฏิบัติงานจากอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) และอัตราการเสียชีวิตจากการทำงาน ของพนักงานและผู้รับเหมา ดังนี้

Indicators/result Target Performance
2021* 2021* 2022 2023

Biodiesel Business

Renewable power plant business

Battery and commercial electric vehicle business

Average

Biodiesel Business

Renewable power plant business

Battery and commercial electric vehicle business

Average

Lost Time Injury Frequency Rate : LTIFR of employees (per 1 million hours) <= 10 0 0 0 0 6.58 5.49 0 3.64 3.14 2.80
Lost Time Injury Frequency Rate : LTIFR of contactors (per 1 million hours) 0 1.86 1.09 0 0 0 0 0 0 1.44 0.53
Work-related fatalities of employees (person) 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
Work-related fatalities of contractors (person) 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
Total number of employees (person) 722 1,175 156 206 1,687 197 95 1,756

*Such year, the business groups have not been divided.